วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

ASEAN - Six Major and Leading Economies





สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

the most 7 beautiful cities in south east asia




สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

Top 10 The World's Best Skylines 2011






สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย ตอนที่ 4 ประตูสู่ AEC ปี 2558





สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย ตอนที่ 3 มุ่งหน้าสู่ AEC ไปด้วยกัน




สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่
http://krabi.mol.go.th/

เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย ตอนที่ 2 เจรจา พาตะลุยอาเซียน





สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่
http://krabi.mol.go.th/

เส้นทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย ตอนที่ 1 เจรจา ทูตแห่งการค้าเสรี





สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

ASEAN Road Map Cartoon




สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

The ASEAN Way (เพลงประจำอาเซียน)





สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่
http://krabi.mol.go.th/

TELEVISHOWS - เพลง -อาเซียนร่วมใจ




สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

กรมประชาสัมพันธ์สนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการเผยแพร่ข่าวอาเซียนเพื่อเตรียมพร้อมเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘

กรมประชาสัมพันธ์ โดยสำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ จะจัดสัมมนาสื่อมวลชนกับประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างเครือข่ายในการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียน รวมทั้งให้สื่อมวลชนได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ๓ เสาหลัก ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองความมั่นคง และด้านสังคมวัฒนธรรมเพื่อจะได้เสนอข่าวเชิงลึกและช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในการเตรียมพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘
          การสัมมนาสื่อมวลชนกับประชาคมอาเซียน จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑ – ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ โรงแรมเขาใหญ่ เดอ ชาโต โดยเชิญสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี ฯลฯ จำนวน ๕๐ คน วิทยากรประกอบด้วยตัวแทนจาก ๓ เสาหลัก ได้แก่ ดร.อิทธิพล ดิษฐ์บรรจง อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ นางสาวปรัชญานี พราหมพันธ์ จากกระทรวงสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จากกระทรวงพาณิชย์ และดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล สื่อมวลชนอาวุโสประธานบริษัทไทยวิทัศน์ จำกัด
          ในการสัมมนาครั้งนี้จะพาไปเยี่ยมชมการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน (Spirit of ASEAN) ณ ศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Study Center) โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี ๑ ใน ๕๔ โรงเรียนตามโครงการดังกล่าว ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนสำหรับนักเรียน ครู และประชาชน ซึ่งช่วยผลักดันการดำเนินการด้านการศึกษาของประเทศไทยให้สอดรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียน และพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียนในอีก ๔ ปีข้างหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

กฎบัตรอาเซียนคืออะไร?

          กฎบัตรอาเซียนคือธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล  เป็นการวางกรอบกฎหมายตลอดจนโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน  โดยนอกจากการประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการสำหรับประเทศสมาชิกแล้ว  ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้นพร้อมกับกำหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรสำคัญในอาเซียน  ตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้  เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน  โดยมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
          กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วย บทบัญญัติ 13 บท 55 ข้อ ครอบคลุมเป้าหมายและหลักการ สมาชิกภาพ โครงสร้างองค์กรของอาเซียน องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน เอกสิทธิ์และความคุ้มกัน กระบวนการตัดสินใจ การระงับข้อพิพาท งบประมาณและการเงิน การบริหารจัดการ เอกลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน และความสัมพันธ์กับภายนอก




สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่ โดย กรมประชาสัมพันธ์สนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการเผยแพร่ข่าวอาเซียนเพื่อเตรียมพร้อมเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘

          กรมประชาสัมพันธ์ โดยสำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ จะจัดสัมมนาสื่อมวลชนกับประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างเครือข่ายในการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียน รวมทั้งให้สื่อมวลชนได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ๓ เสาหลัก ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองความมั่นคง และด้านสังคมวัฒนธรรมเพื่อจะได้เสนอข่าวเชิงลึกและช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในการเตรียมพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘
          การสัมมนาสื่อมวลชนกับประชาคมอาเซียน จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑ – ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ โรงแรมเขาใหญ่ เดอ ชาโต โดยเชิญสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี ฯลฯ จำนวน ๕๐ คน วิทยากรประกอบด้วยตัวแทนจาก ๓ เสาหลัก ได้แก่ ดร.อิทธิพล ดิษฐ์บรรจง อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ นางสาวปรัชญานี พราหมพันธ์ จากกระทรวงสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จากกระทรวงพาณิชย์ และดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล สื่อมวลชนอาวุโสประธานบริษัทไทยวิทัศน์ จำกัด 
         ในการสัมมนาครั้งนี้จะพาไปเยี่ยมชมการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน (Spirit of ASEAN) ณ ศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Study Center) โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี ๑ ใน ๕๔ โรงเรียนตามโครงการดังกล่าว ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนสำหรับนักเรียน ครู และประชาชน ซึ่งช่วยผลักดันการดำเนินการด้านการศึกษาของประเทศไทยให้สอดรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียน และพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียนในอีก ๔ ปีข้างหน้า
 
 
สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

อาเซียนเป็นพันธมิตรทางการทหารหรือไม่?

          การก่อตั้งอาเซียนเมื่อปี 2510 ได้รับแรงกดดันจากการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาค แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพันธมิตรทางการทหารระหว่างกัน โดยเน้นประเด็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันเป็นหลัก
          ปัจจุบัน ความร่วมมืออาเซียนในกรอบการทหารเป็นไปในลักษณะของการหารือ เพื่อเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นหลัก โดยมีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defense Ministerial Meeting - ADMM) เป็นกลไกสำคัญในการกระชับความร่วมมือนี้
 
 
สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคืออะไร มีเป้าหมายอย่างไรและไทยได้ประโยชน์อย่างไร?

          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน  ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนก็มีความคืบหน้าที่ดีในความร่วมมือต่าง ๆ เป็นลำดับและในที่สุดอาเซียนได้มุ่งหวังที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558  ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน  โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  แรงงานฝีมืออย่างเสรีและเงินลงทุนที่เสรีมากขั้น  มีความสามารถในการแข่งขันสูง  มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน  และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก ขนาดของตลาดอาเซียนที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาเซียนมีอำนาจซื้อสูงขึ้นตามมา  เช่นเดียวกับความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี
 
          การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง  อาเซียนจึงมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน  มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยัง มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนามและสิ้นสุดที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน นอกจากนี้ การปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันก็จะส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย
 
          ขณะที่การเจรจาเพื่อเปิดตลาดในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกยังมีท่าทีว่าจะไม่สามารถสรุปผลได้ในอนาคตอันใกล้  ประเทศต่าง ๆ จึงได้พยายามที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ว่าจะในระดับทวีภาคี หรือระดับภูมิภาค ในส่วนของอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรือ อาฟต้า) มาแล้ว 15 ปี และเริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกล้ชิดระหว่างกันจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ต่อไป
 
          หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ  ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า  และเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร  สุขภาพ ฯลฯ  ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก  นอกจากนี้  ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน  ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก  และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม
 
 
 
สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคืออะไร มีเป้าหมายอย่างไรและไทยได้ประโยชน์อย่างไร?

           ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน  ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนก็มีความคืบหน้าที่ดีในความร่วมมือต่าง ๆ เป็นลำดับและในที่สุดอาเซียนได้มุ่งหวังที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558  ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน  โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  แรงงานฝีมืออย่างเสรีและเงินลงทุนที่เสรีมากขั้น  มีความสามารถในการแข่งขันสูง  มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน  และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก ขนาดของตลาดอาเซียนที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาเซียนมีอำนาจซื้อสูงขึ้นตามมา  เช่นเดียวกับความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี
          การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง  อาเซียนจึงมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน  มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยัง มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนามและสิ้นสุดที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน นอกจากนี้ การปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันก็จะส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย
 
          ขณะที่การเจรจาเพื่อเปิดตลาดในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกยังมีท่าทีว่าจะไม่สามารถสรุปผลได้ในอนาคตอันใกล้  ประเทศต่าง ๆ จึงได้พยายามที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ว่าจะในระดับทวีภาคี หรือระดับภูมิภาค ในส่วนของอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรือ อาฟต้า) มาแล้ว 15 ปี และเริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกล้ชิดระหว่างกันจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ต่อไป
 
          หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ  ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า  และเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร  สุขภาพ ฯลฯ  ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก  นอกจากนี้  ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน  ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก  และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม
 
 
สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คือ อะไรและมีเป้าหมายอย่างไร?

          อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี  ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันโดยเน้นการส่งเสริมความรู้  ความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกในด้านความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์  มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ระดับภูมิภาคร่วมกัน
 
          ทั้งนี้  การเสริมสร้างรากฐานและความเชื่อมโยงระหว่างกันที่แข็งแกร่งนำไปสู่ความเข้าใจของการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  การรู้เขารู้เรา  และมีความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกภายใต้สังคมที่เอื้ออาทร  โดยแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) ได้กำหนดกิจกรรมความร่วมมือที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางโดยเน้นความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development)
2.การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
3.สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
4.ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Ensuring Environmental Sustainability)
5.การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building ASEAN Identity)
6.การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)
 
         และเน้นให้มีการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค ตลอดจนการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในภูมิภาคโดยเฉพาะในระดับประชาชน
         ทั้งนี้ ไทยจะได้ประโยชน์อย่างมากจากการที่รากฐานสำคัญของประชาคมอาเซียนที่ประชาชนมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  และเข้าใจถึงผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน  ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การสร้างประชาคมอาเซียนสามารถประสบความสำเร็จด้วย
 
 
 
สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ธงประชาคมอาเซียน
ธงอาเซียนและสัญลักษณ์ของอาเซียนมีความหมายอย่างไร
          ธงอาเซียนคือสิ่งที่แสดงถึงความมั่นคง สันติภาพ ความเป็นเอกภาพ และพลวัติของอาเซียน และเป็นที่มาของสี 4 สีที่ปรากฏอยู่บนธงซึ่งไม่มีเพียงแต่จะรวบรวมจากสีของธงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด แต่สีน้ำเงิน ยังหมายถึง สันติภาพและเสถียรภาพ สีแดงคือความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาวคือความบริสุทธิ์และสีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สิ่งที่ปรากฏอยู่กลางธงอาเซียนคือสัญลักษณ์ของอาเซียน ได้แก่ รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น เป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศที่ร่วมก่อตั้งอาเซียนเคยวาดฝันไว้ว่า ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศนี้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ขณะที่วงกลมที่อยู่รอบรวงข้าวนั้นแสดงถึงความเป็นเอกภาพ ความเป็นหนึ่งเดียวและความสมานฉันท์ของอาเซียน

ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน

อาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนิเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ ไทย และเวียดนาม

สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่ โดย กรมประชาสัมพันธ์สนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการเผยแพร่ข่าวอาเซียนเพื่อเตรียมพร้อมเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘

กรมประชาสัมพันธ์ โดยสำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ จะจัดสัมมนาสื่อมวลชนกับประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างเครือข่ายในการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียน รวมทั้งให้สื่อมวลชนได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ๓ เสาหลัก ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองความมั่นคง และด้านสังคมวัฒนธรรมเพื่อจะได้เสนอข่าวเชิงลึกและช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในการเตรียมพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘
          การสัมมนาสื่อมวลชนกับประชาคมอาเซียน จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑ – ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ โรงแรมเขาใหญ่ เดอ ชาโต โดยเชิญสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี ฯลฯ จำนวน ๕๐ คน วิทยากรประกอบด้วยตัวแทนจาก ๓ เสาหลัก ได้แก่ ดร.อิทธิพล ดิษฐ์บรรจง อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ นางสาวปรัชญานี พราหมพันธ์ จากกระทรวงสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จากกระทรวงพาณิชย์ และดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล สื่อมวลชนอาวุโสประธานบริษัทไทยวิทัศน์ จำกัด
          ในการสัมมนาครั้งนี้จะพาไปเยี่ยมชมการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน (Spirit of ASEAN) ณ ศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Study Center) โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี ๑ ใน ๕๔ โรงเรียนตามโครงการดังกล่าว ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนสำหรับนักเรียน ครู และประชาชน ซึ่งช่วยผลักดันการดำเนินการด้านการศึกษาของประเทศไทยให้สอดรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียน และพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียนในอีก ๔ ปีข้างหน้า



สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่

"ประชาคมอาเซียน" คืออะไร

"ประชาคมอาเซียน" (ASEAN Community) เกิดจากสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations-ASEAN) หรือ "อาเซียน" โดยอาเซียนเดิม ได้ถือกำเนิดจากการประกาศ "ปฏิญญากรุงเทพฯ" (Bangkok Declaration) โดยมีประเทศสมาชิกเมื่อเริ่มก่อตั้งรวม 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ เมื่อปี 2510 เพื่อ ส่งเสริมความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และ การบริหาร

ยุติค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บ. แล้วที่มติเห็นพ้องจากสามฝ่ายคกก.ค่าจ้าง

ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างยุติค่าจ้างขั้นต่ำที่มติ 300 บาท ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และภูเก็ต ส่วนเพิ่มค่าจ้างทุกจังหวัดเฉลี่ยที่ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องเลื่อนจาก 1 ม.ค. 2555 ไปเป็น 1 เม.ย. 2555 แทน เหตุเพราะฝ่ายนายจ้างประสบเคราะห์น้ำท่วมย่ำแย่ถ้วนหน้า ต้องรอฟื้นฟูหลังน้ำลด ชี้ขึ้นแล้วคาดหวังผลิตภาพ ผลิตผลควรสูงขึ้น นายจ้างที่ขึ้นแล้วให้คงอัตรานี้ถึงปี 58 จังหวัดใดยังไม่ได้ปรับจะเริ่มปรับให้ในปี 56 พร้อมกันรัฐบาลมีมาตรการค้ำจุนนายจ้างไม่ให้แบกรับฝ่ายเดียว

การอบรมเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานจังหวัดกระบี่ สู่ความเป็นหนึ่ง รวมพลังร่วมรณรงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหายาเสพติด

เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จังหวัดกระบี่ โดย สำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่ ได้จัดอบรมเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานจังหวัดกระบี่ รุ่นที่ ๑ โดยมีวัตถุประสงค์สู่ความเป็นหนึ่ง รวมพลังร่วงรณรงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม และปัญหายาเสพติด ณ ห้องประชุม พุทธานุภาพ ชั้น ๔ อาคารศูนย์ราชการกระทรวงแรงงานจังหวัดกระบี่

ข่าวสารจากสำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่