วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

AEC จะพัฒนาไปถึงระดับเดียวกับ Euro zone ได้หรือไม่

AEC จะพัฒนาไปถึงระดับเดียวกับ Euro zone ได้หรือไม่          น่าจะเป็นไปได้ยากเนื่องจาก ภูมิประเทศของ ASEAN ไม่เอื้ออำนวยมากนักเพราะหลายๆประเทศก็มีพื้นที่ห่างกัน และรายได้ต่อหัวของประชากรนั้นก็ต่างกันมาก เช่น สิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวต่อปีประมาณ 40,000 USD/year ซึ่งต่างจากประเทศพม่าซึ่งมีรายได้ต่อหัวต่อปีประมาณ 500 USD/year เท่านั้น ซึ่ง AEC ยังคงต้องใช้เวลาอีกมาก กว่าจะก้าวไปถึงจุดนั้นหากต้องการ อ่านบทความอื่นๆ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

          สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันนออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)หรือ”อาเซียน” เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า

          อาเซียนมีพื้นที่ ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ.2553 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของชาติสมาชิกรวมกัน คิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในลำดับที่ 9 ของโลก เมื่อเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวม

          สมาชิกจำนวน 10 ประเทศดังกล่าวได้รวมตัวเป็น “ประชาคมอาเซียน” อันประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน 3 เสาหลัก (Pillars) คือ
   (1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN PoliticalSecurity Community : ASC)
   (2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community : AEC)และ
   (3) ประชาคมสังคมแลวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) ประชาคมอาเซียน

          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community : AEC) มีเป้าหมายของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานฝีมือ ภายในอาเซียนอย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นภายในปี พ.ศ.2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และการบริการในสาขาที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเช่น การท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคารสุขภาพ ฯลฯ

          นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม จึงเป็นความท้าทายและโอกาสใหม่ของประเทศไทย ที่จะส่งผลให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่จะมีการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มในภูมิภาค (Regional Value Chain) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และการขยายตลาดอาเซียนที่มีประชากรกว่า 590 ล้านคน

          การก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 จะส่งผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทยและประเทศไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอาเซียน ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนประชาคมเศรษฐกิจจะมีองค์ประกอบสำคัญ คือ การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน และเงินลงทุนที่เสรีมากขึ้น มีความสามารถในการแข่งขันสูง มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวสารจากสำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่